Last updated: 29 มิ.ย. 2564 | 17106 จำนวนผู้เข้าชม |
“ความปลอดภัย” ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึง ระหว่างทำงาน ไม่ว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้นจะร้ายแรง หรือไม่ก็ตาม หากเกิดความเสียหายขึ้น อาจทำให้การทำงานล่าช้า ทรัพย์สินเสียหาย หรือที่แย่ที่สุด อาจเกิดบาดแผลร้ายแรงถึงขั้นพิการก็เป็นได้ ดังนั้น เพื่อลดโอกาสเกิดปัญหาร้ายแรงดังกล่าว “การป้องกันตัวเอง” ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ระหว่างปฏิบัติงาน
“รองเท้าเซฟตี้” หรือ “รองเท้านิรภัย” เป็นอุปกรณ์ป้องกันชนิดหนึ่ง ที่จะปกป้องเท้าของผู้ใช้งานให้ปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ที่กำลังปฏิบัติงาน ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเท้าได้
หัวกันกระแทกนั้นจะอยู่บริเวณปลายรองเท้า โดยทำหน้าที่ป้องกันนิ้วเท้าของผู้สวมใส่ ไม่ให้เกิดกระแทก จากสิ่งของที่ หล่น ทับ กระแทก หรือจากของมีคม ซึ่งหัวกันกระแทก สามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท ได้แก่
มีน้ำหนักพอสมควรตามวัสดุ สามารถป้องกันการกระแทกได้ตามมาตรฐาน
สามารถรับแรงกระแทกได้เทียบเท่าหัวกันกระแทกแบบเหล็ก แต่จะมีน้ำหนักที่เบากว่ามาก
พื้นรองเท้านั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งเลยก็ว่าได้ เนื่องจากผู้ใช้งานจะต้องเลือกพื้นรองเท้าที่เหมาะกับหน้างานที่จะทำ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด พื้นรองเท้าเซฟตี้ที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไปจะได้แก่
ซึ่งโดยปกติแล้ว จะถูกเรียกว่า “พื้น PU” พื้น PU นั้นมีน้ำหนักที่เบากว่าพื้นอื่น ๆ ในหมวดรองเท้าเซฟตี้ โดยยังคงประสิทธิภาพไว้อย่างครบถ้วน เช่น การกันลื่น ทนความร้อนได้ถึง 160 °c และด้วยกรรมวิธีหล่อติด จะทำให้รองเท้ามีความแข็งแรงทนทานมากขึ้น ใช้งานได้ยาวนาน
ด้วยคุณสมบัติของพื้นยางที่มีความแข็งแรง และทนทานมากกว่าพื้น PU อย่างมาก เช่น การกันลื่น ททนความร้อนได้ถึง 300°c และยังสามารถทนต่อสารเคมี และน้ำมันได้มากกว่าพื้น PU แต่จะแลกมาด้วยน้ำหนักที่มากขึ้น
หนังรองเท้าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ หากจะเริ่มใช้งานรองเท้าเซฟตี้ หนังรองเท้าควรเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับหน้างาน โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
โดยส่วนมาก หนังที่ใช้ผลิตรองเท้าเซฟตี้นั้น จะเป็นหนังแท้ ซึ่งนั่นก็มีสาเหตุมาจากที่ หนังแท้มีความแข็งแรง ทนทานสูง และป้องกันรอยขีดข่วนได้มากกว่าหนังเทียม
ขึ้นมา ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น หนัง PU หนังไมโครไฟเบอร์ หนัง PVC เป็นต้น หนังเทียมนั้นจะถูกใช้ในหน้างานที่ไม่หนักมาก และต้องการความสบายในการสวมใส่ หรือหน้างานที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น หน้างานที่ต้องการความสะอาด หรือหน้างานที่ต้องการป้องกันสารเคมีบางชนิด
การจะเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้ หากเลือกรองเท้าเซฟตี้ไม่ได้มาตรฐานก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือความเสียหายกับผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน ดังนั้นการเลือกรองเท้าเซฟตี้สำหรับปฏิบัติหน้าที่ควรคำนึงถึงมาตรฐานดังกล่าวด้วย เช่น มาตรฐาน มอก.523-2554 หรือ มาตรฐาน CE เป็นต้น
สืบเนื่องจากการรับรองมาตรฐาน การจะเริ่มใช้งานรองเท้าเซฟตี้นั้น จำเป็นต้องเลือกรองเท้าเซฟตี้ให้เหมาะสมกับหน้างานที่จะปฏิบัติงาน การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับหน้างานจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบางหน้างานที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษของรองเท้า เช่น หน้างานที่ต้องการรองเท้าเซฟตี้ที่ป้องกันไฟฟ้าสถิต ก็จะต้องเลือกใช้งานรองเท้าที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟฟ้าสถิตได้ จึงจะสามารถปฏิบัติงานได้
การบำรุงรักษารองเท้าเซฟตี้ ก็จัดเป็นหนึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึง เพื่อยืดอายุการใช้งานรองเท้าเซฟตี้ ให้รองเท้าของเราแข็งแรงทนทานตลอดการสวมใส่ของผู้ใช้งาน ซึ่งการบำรุงรักษารองเท้าเซฟตี้ให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นมีดังนี้